ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
๑. ภาษาบาลี
ภาษาบาลีเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน
รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย คือจะต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์ หรือกาล
ภาษาบาลีมีถิ่นกำเนิดในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย บางทีจึงเรียกว่าภาษามคธ
เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเพราะสาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ
๒. ภาษาสันสกฤต
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน
รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี
ชาวอินเดียถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง คัมภีร์ และบทสวดต่างๆ มักจะจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเพราะคนไทย เคยยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบันทึกคำสอนด้วย ภาษาสันสกฤตมาก่อน
แม้จะยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม
แต่คนไทยก็ยังยึดถือปฏิบัติในพิธีกรรมบางอย่าง
ของศาสนาพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน
คนไทยจึงศึกษาภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตควบคู่กันไป
๓.
ภาษาเขมรในภาษาไทย
ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดดจัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร
คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด
ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย
ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมาเป็นเวลาอันยาวนาน จึงทำให้มีการหยิบยืมถ้อยคำภาษา
ของกันและกัน ไทยยืมคำภาษาเขมรมาใช้เป็นจำนวนมาก
ภาษาเขมรนอกจากจะใช้กันในประเทศกัมพูชาแล้วยังใช้กันในบรรดาคนไทยเชื้อสายเขมรทางจังหวัดต่างๆ
บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย คำเขมาเข้าสู่ภาษาไทยโดยทางการเมือง ทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์ เรายืมคำเขมรมาใช้โดยการทับศัพท์
ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป และเปลี่ยนเสียงเปลี่ยนความหมาย
๔. ภาษาจีนในภาษาไทย
ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด
เช่นเดียวกับภาษาไทย ไม่มีเสียงควบกล้ำ
มีเสียงสูงต่ำ
มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน
การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทย
ต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาและมีเงื่อนไขอื่นๆ
อีกและมีลักษณะนาม ประเทศจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล
ภาษาจีนจึงแตกต่างกันไปอย่างมาก จนกลายเป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ภาษากวางตุ้ง
ภาษาจีนแคะ ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไหหลำ ภาษาเซี่ยงไฮ้
และภาษานิงโปหรือเลี่ยงโผ และภาษาจีนกลาง
ซึ่งเป็นภาษาราชการปัจจุบันนิยม เรียกว่า “ภาษาแมนดา-ริน”
ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
กันมาเป็นเวลาอันยาวนานมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาถึงสมัยปัจจุบัน
ถ้อยคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุ
ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์
ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ
ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์
ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น
เรายืมคำภาษาจีนมาใช้หลายลักษณะ เช่น ทับศัพท์ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปลคำจีน ใช้คำไทยประสมหรือซ้อนกับคำจีนเป็นต้น
๕. ภาษามลายูในภาษาไทย
ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ
(Agglutinative
Language)
อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ
ที่มีเขตแดนติดต่อกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมา เป็นเวลานาน ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร
โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่
ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
๖. ภาษาชวาในภาษาไทย
ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย
เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู
ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียนซึ่งรับมาจากวรรณคดี เรื่อง อิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี
และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
๗. ภาษาอังกฤษในภาษาไทย
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน
มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง
ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะ
บางประการเหมือนภาษาคำโดดและภาษาคำติดต่อปนอยู่ เมื่อภาษาอังกฤษมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น
ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่างๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน
จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษ จึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก
คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมฝรั่งก็เข้ามาปะปนในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น
ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้
โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปล ใช้คำสันสกฤตแปล ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทยและเปลี่ยนความหมาย
วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น
3 วิธี คือ
๑. การแปลศัพท์
การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์
หมายถึง การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม
ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ
แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น
๒. การบัญญัติศัพท์
การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ
โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่
ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง คือ ราชบัณฑิตยสถาน
แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน
๓. การทับศัพท์
การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่ง มาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียงและถอดอักษร
การยืมคำภาษาอังกฤษ โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ
คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย
คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว
แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป
มีตัวอย่างดัง เช่น
๘. ภาษาอื่น ๆ ในภาษาไทย
นอกจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร
ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาชวา และภาษาอังกฤษ ดังกล่าวแล้ว ยังมีถ้อยคำภาษาอื่น ๆ
เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วยสาเหตุ ต่าง
ๆ อีกจำนวนหนึ่ง และเราได้นำถ้อยคำภาษาเหล่านั้นมาใช้สื่อสารกันโดยทั่วไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น