วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การใช้คำราชาศัพท์



การใช้คำราชาศัพท์



ความหมายของคำราชาศัพท์         
          คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ขุนนาง ข้าราชการ สุภาพชน
          บุคคลในกลุ่มที่ ๑ และ ๒ จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ ๔ และ ๕ ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด 

คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์
          ๑. คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น
          ๒. คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา นำหน้าด้วยคำพระราชเช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร เป็นต้น
          ๓. คำนามเป็นชื่อของสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญส่วนใหญ่เป็นคำบาลีสันสกฤต เขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็นคำไทยธรรมดานำหน้าด้วยคำ พระเช่น พระกร พระบาทพระโรค พระฉาย พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น คำนามใดที่เป็นคำประสม มีคำ พระประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ พระนำหน้าซ้อนอีก เช่น พานพระศรี (พานหมาก) ขันพระสาคร (ขันน้ำ) เป็นต้น
          ๔. คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่า ต้นเช่น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น และนำหน้าด้วย หลวงเช่น ลูกหลวง หลานหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง ส่วน หลวงที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่นภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น นอกจากคำว่า ต้นและ หลวงประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่นๆ อีก เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม เป็นต้น

คำศัพท์สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า
          ๑. ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น
          ๒. ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ พระนำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น
          ๓. คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ




คำราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์         
          ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้ เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
          ๑. สมเด็จพระสังฆราช
          ๒. สมเด็จพระราชาคณะ หรือ ชั้นสุพรรณปัฎ คือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วยคำว่า "สมเด็จพระ"
          ๓. พระราชาคณะชั้นรอง
          ๔. พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า
          ๕. พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า
          ๖. พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า
          ๗. พระราชาคณะชั้นสามัญ
          ๘. พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน , พระครูฐานานุกรม
          ๙. พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
          การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์อยู่แล้ว
 

เราเจอแต่คำราชาศัพท์ที่อ่านยาก มาฟังเพลงผ่อนคลายกันดีกว่า>>คลิกที่นี่เลยนะจ๊ะ








ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย



ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย



๑. ภาษาบาลี  
          ภาษาบาลีเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย คือจะต้องเปลี่ยนรูปคำตามเพศ พจน์ หรือกาล ภาษาบาลีมีถิ่นกำเนิดในแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย บางทีจึงเรียกว่าภาษามคธ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเพราะสาเหตุจากการยอมรับนับถือศาสนาพุทธของคนไทยเป็นสำคัญ

. ภาษาสันสกฤต
          ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษา มีปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี ชาวอินเดียถือว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง คัมภีร์ และบทสวดต่างๆ มักจะจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเพราะคนไทย เคยยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งบันทึกคำสอนด้วย ภาษาสันสกฤตมาก่อน แม้จะยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วก็ตาม แต่คนไทยก็ยังยึดถือปฏิบัติในพิธีกรรมบางอย่าง ของศาสนาพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน   คนไทยจึงศึกษาภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตควบคู่กันไป

๓. ภาษาเขมรในภาษาไทย
          ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดดจัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย  แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมาเป็นเวลาอันยาวนาน จึงทำให้มีการหยิบยืมถ้อยคำภาษา ของกันและกัน ไทยยืมคำภาษาเขมรมาใช้เป็นจำนวนมาก  ภาษาเขมรนอกจากจะใช้กันในประเทศกัมพูชาแล้วยังใช้กันในบรรดาคนไทยเชื้อสายเขมรทางจังหวัดต่างๆ บางจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย  คำเขมาเข้าสู่ภาษาไทยโดยทางการเมือง ทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์  เรายืมคำเขมรมาใช้โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป และเปลี่ยนเสียงเปลี่ยนความหมาย


. ภาษาจีนในภาษาไทย
          ภาษาจีนมีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษาคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทย ไม่มีเสียงควบกล้ำ
มีเสียงสูงต่ำ มีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่มีโครงสร้างประโยคเช่นเดียวกัน การเรียงลำดับคำเข้าประโยคก็เช่นเดียวกับภาษาไทย ต่างกันแต่ว่าภาษาจีนเอาคุณศัพท์ไว้หน้านาม เอากริยาวิเศษณ์ไว้หน้ากริยาและมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกและมีลักษณะนาม ประเทศจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล ภาษาจีนจึงแตกต่างกันไปอย่างมาก จนกลายเป็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญคือ  ภาษากวางตุ้ง  ภาษาจีนแคะ  ภาษาฮกเกี้ยน  ภาษาแต้จิ๋ว ภาษาไหหลำ  ภาษาเซี่ยงไฮ้  และภาษานิงโปหรือเลี่ยงโผ และภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการปัจจุบันนิยม  เรียกว่า ภาษาแมนดา-รินไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันมาเป็นเวลาอันยาวนานมากตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาถึงสมัยปัจจุบัน ถ้อยคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุ ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ  ความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์  ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น เรายืมคำภาษาจีนมาใช้หลายลักษณะ  เช่น  ทับศัพท์ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป  ใช้คำไทยแปลคำจีน  ใช้คำไทยประสมหรือซ้อนกับคำจีนเป็นต้น


๕. ภาษามลายูในภาษาไทย
          ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์  ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language)  อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมา เป็นเวลานาน ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล  ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก


๖. ภาษาชวาในภาษาไทย
          ภาษาชวา  ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู  ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียนซึ่งรับมาจากวรรณคดี เรื่อง  อิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน


๗. ภาษาอังกฤษในภาษาไทย
            ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต  แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะ  บางประการเหมือนภาษาคำโดดและภาษาคำติดต่อปนอยู่ เมื่อภาษาอังกฤษมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่างๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย  ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษ จึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมฝรั่งก็เข้ามาปะปนในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ โดยการทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้คำไทยแปล ใช้คำสันสกฤตแปล ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทยและเปลี่ยนความหมาย
          วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
               . การแปลศัพท์
                   การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์ หมายถึง การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป  ดังตัวอย่างเช่น

               . การบัญญัติศัพท์
                   การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ  โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ  หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ  ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น  ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง  คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน 

                . การทับศัพท์
                   การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่ง   มาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียงและถอดอักษร การยืมคำภาษาอังกฤษ โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย  คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป    มีตัวอย่างดัง เช่น


๘. ภาษาอื่น ๆ ในภาษาไทย
          นอกจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาชวา และภาษาอังกฤษ ดังกล่าวแล้ว ยังมีถ้อยคำภาษาอื่น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วยสาเหตุ   ต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง และเราได้นำถ้อยคำภาษาเหล่านั้นมาใช้สื่อสารกันโดยทั่วไป  ดังตัวอย่างต่อไปนี้






การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ


การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

          คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล ในเมื่อคำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ หรือกาล  และบอกความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค  เราสามารถทราบความหมายของคำและความสัมพันธ์กับคำอื่นได้จากบริบท
          บริบท หมายถึง ถ้อยคำที่ปรากฏร่วมกับคำที่เรากำลังพิจารณา หรือสถานการณ์แวดล้อมในขณะที่กล่าว หรือเขียนคำ ๆ นั้น

            วิธีการพิจารณาความหมายของคำจากบริบท
          ๑. พิจารณาจากคำที่ปรากฏร่วมกัน  เช่น น้องสาวถามพี่ว่าเพื่อนพี่คนสูง ๆ สวมแว่นตาคลอดหรือยัง (พี่ย่อมเข้าใจได้ว่าเพื่อนพี่ที่น้องถามถึงเป็นเพื่อนผู้หญิง เพราะคำกริยา คลอดใช้แก่ประธานที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น)
          ๒. พิจารณาจากหน้าที่ของคำ เช่น  เด็กดีเรียนดี  (ดี คำแรกขยายคำนาม เด็ก ดี คำที่สอง ขยายกริยา เรียน เพราะคำขยายจะอยู่ข้างหลังคำหลัก หรือคำที่ถูกขยาย)
          ๓. พิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน เช่น ขัด มีความหมายว่า ติด  ขวางไว้ไม่ให้หลุดออก  เหน็บ  ไม่ทำตาม  ฝ่าฝืน  ขืนไว้  ถูให้เกลี้ยง  ถูให้องใส  ไม่ใคร่จะมี  ฝืดเคือง  ไม่คล่อง  ไม่ปกติ เมื่อ ขัด ปรากฏในประโยค เราก็จะทราบความหมายได้ว่า ขัด ในประโยค นั้น ๆ หมายความว่าอย่างไรโดยพิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน
ดังนี้      - เขาชอบขัดคำสั่งเจ้านาย  (ขัด หมายถึง ฝ่าฝืน)
           - เธอช่วยเอารองเท้าคู่ดำไปขัดให้หน่อย  (ขัด หมายถึง ถูให้เกลี้ยง ถูให้ผ่องใส)
           - วันนี้ไม่รู้เป็นอย่างไรจะทำอะไรก็ขัดไปหมด  (ขัด หมายถึง ไม่คล่อง)
          ที่เราทราบความหมายของคำว่า ขัด ได้ก็เพราะคำอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมกับคำว่า ขัด ในประโยค หรืออีกนัยหนึ่ง บริบทของคำว่า ขัด นั่นเอง
          ๔.พิจารณาจากเจตนาของผู้พูด เช่น สามีกล่าวให้ภรรยาฟังว่าเลขานุการของเขามีความสามารถในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง  ภรรยาก็กล่าวว่า  แหม เก่งจริงนะ 
          สามีต้องอาศัยบริบท คือ สังเกตสีหน้าท่าทางของภรรยาว่า คำว่า เก่ง ของภรรยาหมายความว่าอย่างไร ภรรยาชมเลขานุการด้วยความจริงใจ หรือพูดประชดประชัน
          เด็กคนหนึ่งพูดว่า คุณแม่ ผู้ฟังรู้ว่า คุณแม่ หมายความว่าอย่างไร แต่จะไม่เข้าใจเลยว่า ผู้พูดพูดคำนั้นเพื่ออะไรนอกจากจะพิจารณาจากบริบท ผู้พูดอาจพูดว่า คุณแม่ เพื่อเตือนให้น้อง ๆ รู้ว่ามารดากำลังเดินมา หรือเพื่อเรียกมารดาของตน หรือเพื่อตอบคำถามของครูว่า ใครมาส่งที่โรงเรียน หรืออื่น ๆ ได้อีกมาก
          หัวหน้าสั่งลูกน้องว่า ช่วยหยิบแฟ้มมาให้ผมหน่อยครับ  เมื่อลูกน้องถือแฟ้มเข้ามา หัวหน้าเห็นเข้า ก็ร้องบอกว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่งครับ เมื่อลูกน้องกลับออกไปถือแฟ้มเข้ามา ๒แฟ้ม  หัวหน้าเห็นแต่ไกล ดุว่า ผมให้เอาอีกแฟ้มหนึ่ง
          จะเห็นว่า คำสั่งของหัวหน้ามีความกำกวม อาจหมายความอย่างที่หัวหน้าต้องการ หรืออย่างที่ลูกน้องเข้าใจก็ได้ แต่ถ้าหัวหน้ากล่าวให้มีบริบทว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่ง ไม่ใช่แฟ้มนี้ คำพูดก็จะไม่กำกวม


      การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำเป็นองค์ประกอบของลักษณะของภาษาไทย ซึ่งเราสามารถศึกษาลักษณะของภาษาไทยเพิ่มเติมอีกได้จากเว็ปไซต์ >>> คลิกที่นี่นะจ๊ะ





การสร้างคำในภาษาไทย


การสร้างคำในภาษาไทย


          คำที่ใช้ในภาษาไทยดั้งเดิม ส่วนมากจะเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พี่น้อง เดือนดาว จอบไถ หมูหมา กิน นอน ดี ชั่ว สอง สาม เป็นต้น เมื่อโลกวิวัฒนาการ มีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มขึ้น ภาษาไทยก็จะต้องพัฒนาทั้งรูปคำและการเพิ่มจำนวนคำ เพื่อให้มีคำใช้ในการสื่อสารให้เพียงพอ กับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างคำ ยืมคำและเปลี่ยนแปลงรูปคำซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้


รูปแบบของคำ
          คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็นคำไทยดั้งเดิม คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการคำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกตามลักษณะและแบบสร้างของคำ เช่น คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง คำเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผู้เรียนจะเข้าใจลักษณะแตกต่างของคำเหล่านี้ได้จากแบบสร้างของคำ

ความหมายและแบบสร้างของคำชนิดต่าง ๆ 

    คำมูล

       คำมูล คือ คำ ๆ เดียวที่มิได้ประสมกับคำอื่น อาจมี ๑ พยางค์ หรือหลายพยางค์ก็ได้แต่
่เมื่อแยกพยางค์แล้วแต่ละพยางค์ไม่มีความหมาย คำภาษาไทยที่ใช้มาแต่เดิมส่วนใหญ่ เป็นคำมูลที่มีพยางค์เดียวโดด ๆ เช่น พ่อ แม่ กิน เดิน
       ตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล 
            คน
มี ๑ พยางค์ คือ คน
            สิงโต
มี ๒ พยางค์ คือ สิง + โต
            นาฬิกา
มี ๓ พยางค์ คือ นา + ฬิ + กา
            ทะมัดทะแมง
มี ๔ พยางค์ คือ ทะ + มัด + ทะ + แมง
            กระเหี้ยนกระหือรือ
มี ๕ พยางค์ คือ กระ + เหี้ยน + กระ + หือ + รือ
          จากตัวอย่างแบบสร้างของคำมูล จะเห็นว่าเมื่อแยกพยางค์จากคำแล้ว แต่ละพยางค์ไม่มี
ความหมายในตัวหรืออาจมีความหมายไม่ครบทุกพยางค์ คำเหล่านี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อ
นำทุกพยางค์มารวมเป็นคำ ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นคำเดียวโดด ๆ 

   คำประสม
         คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยนำคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกัน เกิดเป็นคำใหม่ขึ้นอีก
คำหนึ่ง
         ๑. เกิดความหมายใหม่
         ๒. ความหมายคงเดิม
         ๓. ความหมายให้กระชับขึ้น
       ตัวอย่างแบบสร้างคำประสม 
             แม่ยาย
เกิดจากคำมูล ๒ คำ คือ แม่ + ยาย
             ลูกน้ำ
เกิดจากคำมูล ๒ คำ คือ ลูก + น้ำ
             ภาพยนตร์จีน
เกิดจากคำมูล ๒ คำ คือ ภาพยนตร์ + จีน
             จากตัวอย่างแบบสร้างคำประสม จะเห็นว่าเมื่อแยกคำประสมออกจากกัน จะได้คำมูลซึ่ง
แต่ละคำมีความหมายในตัวเอง
       ชนิดของคำประสม
               การนำคำมูลมาประสมกัน เพื่อให้เกิดคำใหม่ขึ้นเรียกว่า “คำประสม” นั้น มีวิธีสร้างคำ
ตามแบบสร้าง อยู่ ๕ วิธีด้วยกัน คือ
                ๑. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อประสมกันเกิดเป็น
ความหมายใหม่ ไม่ตรงกับความหมายเดิม                  
                ๒. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อประสมกันแล้วเกิด ความหมายใหม่แต่ยังคงรักษาความหมายของคำเดิมแต่ละคำได้ เช่น 
                             หมอ
หมายถึง
ผู้รู้ ผู้ชำนาญ ผู้รักษาโรค
                                ดู
หมายถึง
ใช้สายตาเพื่อให้เห็น
หมอ + ดู ได้คำใหม่ คือ หมอดู
หมายถึง
ผู้ทำนายโชคชะตาราศี คำประสมชนิดนี้
                เช่น หมอความ นักเรียน ชาวนา ของกิน ช่างแท่น ร้อนใจ เป็นต้น
                ๓. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูป เสียง ความหมายเหมือนกัน เมื่อประสมแล้วเกิด
ความหมายต่างจากความหมายเดิมเล็กน้อย อาจมีความหมายทางเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ 
การเขียนคำประสมแบบนี้จะใช้ไม้ยมก (ๆ) เติมข้างหลัง
               ๔. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูปและเสียงต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน เมื่อนำมาประสมกันแล้วความหมายไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น 
                ยิ้ม
  หมายถึง
          แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ
               แย้ม
   หมายถึง
          คลี่ เผยอปากแสดงความพอใจ
                ยิ้ม + แย้ม ได้คำใหม่ คือ ยิ้มแย้ม หมายถึง ยิ้มอย่างชื่นบาน 
             คำประสมชนิดนี้มีมากมาย เช่น โกรธเคือง รวดเร็ว แจ่มใส เสื่อสาด บ้าน เรือน วัดวาอาราม ถนนหนทาง เป็นต้น
              ๕. คำประสมที่เกิดจากคำมูลที่มีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อนำมาประสมจะตัดพยางค์หรือย่นพยางค์ให้สั้นเข้า เช่น คำว่า ชันษา มาจาก ชนม+พรรษา

   คำสมาส
       คำสมาสเป็นวิธีสร้างคำในภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกันคล้ายคำประสม แต่คำที่นำมาประกอบแบบคำสมาสนั้น นำมาประกอบหน้าศัพท์ การแปลคำสมาสจึงแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น
         บรม (ยิ่งใหญ่) + ครู
=
บรมครู (ครูผู้ยิ่งใหญ่)
        สุนทร (ไพเราะ) + พจน์ (คำพูด)
=
สุนทรพจน์ (คำพูดที่ไพเราะ)
        การนำคำมาสมาสกัน อาจเป็นคำบาลีสมาสกับบาลี สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต หรือบาลีสมาสกับสันสกฤตก็ได้
        ในบางครั้ง คำประสมที่เกิดจากคำไทยประสมกับคำบาลีหรือคำสันสกฤตบางคำ มีลักษณะคล้ายคำสมาสเพราะแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น ราชวัง แปลว่า วังของพระราชา อาจจัดว่าเป็นคำสมาสได้ ส่วนคำประสมที่มีความหมายจากข้างหน้าไปข้างหลังและมิได้ทำให้ ความหมาย ผิดแผกแม้คำนั้นประสมกับคำบาลีหรือสันสกฤตก็ถือว่าเป็นคำประสม เช่น มูลค่า ทรัพย์สิน เป็นต้น
      การอ่านคำสมาส
            การอ่านคำสมาสมีหลักอยู่ว่า ถ้าพยางค์ท้ายของคำลงท้ายด้วย สระอะอิอุ เวลาเข้าสมาสให้อ่านออกเสียง อะ อิ อุ นั้นเพียงครึ่งเสียง เช่น 
     เกษตร
สมาสกับ
ศาสตร์
เป็น
เกษตรศาสตร์
อ่านว่า
กะ-เสด-ตระ-สาด
     อุทก
สมาสกับ
ภัย
เป็น
อุทกภัย
อ่านว่า
อุ-ทก-กะ-ไพ
     ประวัติ
สมาสกับ
ศาสตร์
เป็น
ประวัติศาสตร์
อ่านว่า
ประ-หวัด-ติ-สาด



  คำสนธิ
      การสนธิ คือ การเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักไวยากรณ์บาลีสันสกฤต เป็นการเชื่อม อักษรให้ต่อเนื่องกันเพื่อตัดอักษรให้น้อยลง ทำให้คำพูดสละสลวย นำไปใช้ประโยชน์ในการแต่ง
คำประพันธ์
      คำสนธิ เกิดจากการเชื่อมคำในภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น ถ้าคำที่นำมาเชื่อมกัน ไม่ใช่ภาษาบาลีสันสกฤต ไม่ถือว่าเป็นสนธิ เช่น กระยาหาร มาจากคำ กระยา + อาหาร ไม่ใช่สนธิ เพราะ กระยาเป็นคำไทยและถึงแม้ว่าคำที่นำมารวมกันแต่ไม่ได้เชื่อมกัน เป็นเพียงประสมคำเท่านั้น ก็ไม่ถือว่าสนธิ เช่น 
     ทิชาชาติ
มาจาก
ทีชา + ชาติ
     ทัศนาจร
มาจาก
ทัศนา + จร
     วิทยาศาสตร์
มาจาก
วิทยา + ศาสตร์

         แบบสร้างของคำสนธิที่ใช้ในภาษาไทย
              ๑. สระสนธิ  การสนธิสระทำได้ ๓ วิธี คือ
     ๑.๑ ตัดสระพยางค์ท้าย แล้วใช้สระพยางค์หน้าของคำหลังแทน เช่น 
          มหา
สนธิกับ
อรรณพ
เป็น
มหรรณพ
          นร
สนธิกับ
อินทร์
เป็น
นรินทร์
          ปรมะ
สนธิกับ
อินทร์
เป็น
ปรมินทร์
          รัตนะ
สนธิกับ
อาภรณ์
เป็น
รัตนาภรณ์
      ๑.๒ ตัดสระพยางค์ท้ายของคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าของคำหลังแต่เปลี่ยนรูป อะ
เป็น อา อิ เป็น เอ อุ เป็น อู หรือ โอ ตัวอย่างเช่น
     เปลี่ยนรูป อะ เป็นอา 
          เทศ
สนธิกับ
อภิบาล
เป็น
เทศาภิบาล
          ราช
สนธิกับ
อธิราช
เป็น
ราชาธิราช
          ประชา
สนธิกับ
อธิปไตย
เป็น
ประชาธิปไตย
          จุฬา
สนธิกับ
อลงกรณ์
เป็น
จุฬาลงกรณ์
     เปลี่ยนรูป อิ เป็น เอ 
          นร
สนธิกับ
อิศวร
เป็น
นเรศวร
          ปรม
สนธิกับ
อินทร์
เป็น
ปรเมนทร์
          คช
สนธิกับ
อินทร์
เป็น
คเชนทร์
     เปลี่ยนรูป อุ เป็น อู หรือ โอ
          ราช
สนธิกับ
อุปถัมภ์
เป็น
ราชูปถัมภ์
          สาธารณะ
สนธิกับ
อุปโภค
เป็น
สาธารณูปโภค
          วิเทศ
สนธิกับ
อุบาย
เป็น
วิเทโศบาย
          สุข
สนธิกับ
อุทัย
เป็น
สุโขทัย
           ๑.๓ เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้า อิ อี เป็น ย อุ อู เป็น ว แล้วใช้สระ พยางค์หน้าของคำหลังแทน เช่น
        เปลี่ยน อิ อี เป็น ย 
          มต
ิสนธิกับ
อธิบาย
เป็น
มัตยาธิบาย
          รังสี
สนธิกับ
โอภาส
เป็น
รังสโยภาสรังสิโยภาส
          สามัคคี
สนธิกับ
อาจารย์
เป็น
สามัคยาจารย์
     เปลี่ยน อุ อู เป็น ว 
          สินธุ
สนธิกับ
อานนท์
เป็น
สินธวานนท์
          จักษุ
สนธิกับ
อาพาธ
เป็น
จักษวาพาธ
          ธนู
สนธิกับ
อาคม
เป็น
ธันวาคม
        ๒. พยัญชนะสนธิ
              พยัญชนะสนธิในภาษาไทยมีน้อย คือเมื่อนำคำ ๒ คำมาสนธิกัน ถ้าหากว่าพยัญชนะ ตัวสุดท้าย ของคำหน้ากับพยัญชนะตัวหน้าของคำหลังเหมือนกัน ให้ตัดพยัญชนะที่เหมือนกัน ออกเสียตัวหนึ่ง เช่น 
          เทพ
สนธิกับ
พนม
เป็น
เทพนม
          นิวาส
สนธิกับ
สถาน
เป็น
นิวาสถาน
         ๓. นิคหิตสนธิ
                นิคหิตสนธิในภาษาไทย ใช้วิธีเดียวกับวิธีสนธิในภาษาบาลีและสันสกฤต คือ ให้สังเกตพยัญชนะตัวแรกของคำหลังว่าอยู่ในวรรคใด แล้วแปลงนิคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคนั้น เช่น 
          สํ
สนธิกับ
กรานต
เป็น
สงกรานต์
          (ก เป็นพยัญชนะวรรค กะ พยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคกะ คือ ง)
          สํ
สนธิกับ
คม
เป็น
สังคม
          (ค เป็นพยัญชนะวรรค กะ พยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคกะ คือ ง)
          สํ
สนธิกับ
ฐาน
เป็น
สัณฐาน
          (ฐ เป็นพยัญชนะวรรค ตะ พยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคกะ คือ ณ)
          สํ
สนธิกับ
ปทาน
เป็น
สัมปทาน
          (ป เป็นพยัญชนะวรรค ปะ พยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคกะ คือ ม)
         ถ้าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังเป็นเศษวรรค ให้คงนิคหิต (_ํ ) ตามรูปเดิม อ่านออกเสียง อัง  หรือ อัน เช่น 
          สํ
สนธิกับ
วร
เป็น
สังวร
          สํ
สนธิกับ
หรณ์
เป็น
สังหรณ์
          สํ
สนธิกับ
โยค
เป็น
สังโยค
          ถ้า สํ สนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ จะเปลี่ยนนิคหิตเป็น ม เสมอ เช่น 
          สํ
สนธิกับ
อิทธิ
เป็น
สมิทธิ
          สํ
สนธิกับ
อาคม
เป็น
สมาคม
          สํ
สนธิกับ
อาส
เป็น
สมาส
          สํ
สนธิกับ
อุทัย
เป็น
สมุทัย





   คำแผลง
       คำแผลง คือ คำที่สร้างขึ้นใช้ในภาษาไทยอีกวิธีหนึ่ง โดยเปลี่ยนแปลงอักษรที่ประสมอยู่ใน
คำไทยหรือคำที่มาจากภาษาอื่นให้ผิดไปจากเดิม ด้วยวิธีตัด เติม หรือเปลี่ยนรูป แต่ยังคงรักษา
ความหมายเดิมหรือเค้าความเดิมอยู่
     แบบสร้างของการแผลงคำ    
          ๑. การแผลงสระ เป็นการเปลี่ยนรูปสระของคำนั้น ๆ ให้เป็นสระรูปอื่น
          ตัวอย่าง 
คำเดิม
คำแผลง
คำเดิม
คำแผลง
ชยะ
ชัย
สายดือ
สะดือ
โอชะ
โอชา
สุริยะ
สุรีย์
วชิระ
วิเชียร
ดิรัจฉาน
เดรัจฉาน
พัชร
เพชร
พิจิตร
ไพจิตร
          ๒. การแผลงพยัญชนะ การแผลงพยัญชนะก็เช่นเดียวกับการแผลงสระ คือ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเกิดจากความเจริญของภาษา การแผลงพยัญชนะเป็นการเปลี่ยนรูปพยัญชนะตัวหนึ่งให้เป็นอีกตัวหนึ่ง หรือเพิ่มพยัญชนะลงไปให้เสียงผิดจากเดิม หรือมีพยางค์มากกว่าเดิม หรือตัดรูปพยัญชนะ การศึกษาที่มาของถ้อยคำเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจความหมายของคำได้ถูกต้อง
          ตัวอย่าง
 
คำเดิม
คำแผลง
คำเดิม
คำแผลง
กราบ
กำราบ
บวช
ผนวช
เกิด
กำเนิด
ผทม
ประทมบรรเทา
ขจาย
กำจาย
เรียบ
ระเบียบ
แข็ง
กำแหงคำแหง
แสดง
สำแดง
คูณ
ควณคำนวณ,คำนูณ
พรั่ง
สะพรั่ง
          ๓. การแผลงวรรณยุกต์ การแผลงวรรณยุกต์เป็นการเปลี่ยนแปลงรูป หรือเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เพื่อให้เสียงหรือ
รูปวรรณยุกต์ผิดไปจากเดิม
          ตัวอย่าง
คำเดิม
คำแผลง
คำเดิม
คำแผลง
เพียง
เพี้ยง
พุทโธ
พุทโธ่
เสนหะ
เสน่ห์
บ่




   คำซ้ำ
       คำซ้ำ คือ การสร้างคำด้วยการนำคำที่มีเสียง และความหมายเหมือนกันมาซ้ำกัน เพื่อเปลี่ยน แปลงความหมายของคำนั้นให้แตกต่างไปหลายลักษณะ
          ๑. ความหมายคงเดิม คือ คำที่ซ้ำกันจะมีความหมายคงเดิม แต่อาจจะให้ความหมายอ่อนลง หรือไม่แน่ใจจะมีความหมายเท่ากับความหมายเดิม เช่น ตอนเย็น ๆ ค่อยมาใหม่นะ รู้สึกจะอยู่แถว ๆ นี้ละ คำว่า เย็น ๆ และ แถว ๆ ดูจะมีความหมาย อ่อนลง
          ๒. ความหมายเด่นขึ้น เฉพาะเจาะจงขึ้นกว่าความหมายเดิม เช่น สอนเท่าไหร่ ๆ 
ก็ไม่จำ พระเอกคนนี้ ล้อหล่อ เป็นต้น
          ๓. ความหมายแยกเป็นส่วน ๆ แยกจำนวน เช่น กรุณาแจกเป็นคน ๆ ไปนะ จ่ายเป็น
งวด ๆ (ทีละงวด) เป็นต้น
          ๔. ความหมายบอกจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น เด็ก ๆ ชอบวิ่ง เธอทำอะไร ๆ ก็ดูดีหมด เป็นต้น
          ๕. ความหมายผิดไปจากเดิม เช่น เรื่องหมู ๆ แบบนี้สบายมาก (เรื่องง่าย) รู้เพียงงู ๆ 
ปลา ๆ เท่านั้น (รู้ไม่จริง) เป็นต้น

    คำซ้อน
          คำซ้อน คือ คำประสมชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำเอาคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปซึ่งมีเสียง
ต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันหรือเป็นไปในทำนองเดียวกันมาซ้อนคู่ กัน เช่น เล็กน้อย ใหญ่โต เป็นต้น ปกติคำที่นำมาซ้อนกันนั้น นอกจากจะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันแล้ว มักจะมีเสียงใกล้เคียงกันด้วย เพื่อให้ออกเสียงง่าย สะดวกปาก คำที่นำ มาซ้อนแล้วทำให้เกิดความหมายนั้นแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
          ๑. ซ้อนคำแล้วมีความหมายคงเดิม คำซ้อนลักษณะนี้จะนำคำที่มีความหมายเหมือนกันมาซ้อนกัน เพื่อขยายความซึ่งกันและกัน เช่น ข้าทาส รูปร่าง ว่างเปล่า โง่เขลา เป็นต้น
          ๒. ซ้อนคำแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
                   ๒.๑ ความหมายเชิงอุปมา  คำซ้อนลักษณะนี้จะเป็นคำซ้อนที่คำเดิมมีความหมาย เป็นรูปแบบเมื่อนำมาซ้อนกับความหมายของคำซ้อนนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นนามธรรม เช่น        อ่อนหวาน อ่อน มีความหมายว่า ไม่แข็ง เช่น ไม้อ่อน หวานมีความหมายว่ารสหวาน เช่น ขนมหวาน
      อ่อนหวาน มีความหมายว่าเรียบร้อย น่ารัก เช่น เธอช่างอ่อนหวานเหลือเกิน หมายถึง กิริยาอาการที่แสดงออกถึงความเรียบร้อยน่ารัก
     คำอื่น ๆ เช่น ค้ำจุน เด็ดขาด ยุ่งยาก เป็นต้น
                   ๒.๒ ความหมายกว้างออก คำซ้อนบางคำมีความหมายกว้างออกไม่จำกัดเฉพาะ ความหมายเดิมของคำสองคำที่มาซ้อนกัน เช่น เจ็บไข้ หมายถึง อาการเจ็บป่วยของโรคต่าง ๆ และคำว่า พี่น้อง ถ้วยชาม ทุบตี ฆ่าฟัน เป็นต้น
                   ๒.๓ ความหมายแคบเข้า คำซ้อนบางคำมีความหมายเด่นอยู่คำใดคำหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นคำหน้าหรือคำหลังก็ได้
                เช่น ความหมายเด่นอยู่คำหน้า ใจดำ หัวหู ปากคอ บ้าบอคอแตก
                    ความหมายเด่นอยู่คำหลัง หยิบยืม เอร็ดอร่อย น้ำพักน้ำแรง 

แต่ถ้าใครอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ สามารถคลิกเข้าไปเรียนเพิ่มเติมในนี้ได้เลย....

  ตอนที่ 1     

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3