การใช้คำราชาศัพท์
ความหมายของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์
คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ
คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย
แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน
และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์
พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ขุนนาง ข้าราชการ สุภาพชน
บุคคลในกลุ่มที่ ๑ และ ๒
จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ ๔ และ ๕
ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน
หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา
ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ
ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ
จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ
และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด
เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา
แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ
เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์
๑. คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง
มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร
และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์
พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น
๒. คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา
นำหน้าด้วยคำ“พระราช” เช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์
พระราชลัญจกร เป็นต้น
๓. คำนามเป็นชื่อของสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญส่วนใหญ่เป็นคำบาลีสันสกฤต
เขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็นคำไทยธรรมดานำหน้าด้วยคำ “พระ” เช่น พระกร พระบาทพระโรค พระฉาย พระแท่น
พระเคราะห์ เป็นต้น คำนามใดที่เป็นคำประสม มีคำ “พระ”
ประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ “พระ” นำหน้าซ้อนอีก เช่น พานพระศรี (พานหมาก) ขันพระสาคร (ขันน้ำ) เป็นต้น
๔. คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย
นำหน้าด้วยคำว่า “ต้น” เช่น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น และนำหน้าด้วย “หลวง” เช่น ลูกหลวง หลานหลวง รถหลวง เรือหลวง
สวนหลวง ส่วน “หลวง” ที่แปลว่าใหญ่
ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่นภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น นอกจากคำว่า “ต้น” และ “หลวง” ประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่นๆ อีก เช่น รถพระที่นั่ง
เรือพระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ของเสวย โต๊ะเสวย
ห้องบรรทม เป็นต้น
คำศัพท์สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์
คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า
๑. ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์
พระราชประวัติ พระราชดำรัส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น
๒. ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์
พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ “พระ” นำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น
๓. คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว
ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ
คำราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์
ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง
ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา
มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน
หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม
ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ
ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า
พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้
เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
๑. สมเด็จพระสังฆราช
๑. สมเด็จพระสังฆราช
๒. สมเด็จพระราชาคณะ
หรือ ชั้นสุพรรณปัฎ คือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วยคำว่า
"สมเด็จพระ"
๓. พระราชาคณะชั้นรอง
๔. พระราชาคณะชั้นธรรม
พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า
๕. พระราชาคณะชั้นเทพ
พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า
๖. พระราชาคณะชั้นราช
พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า
๗. พระราชาคณะชั้นสามัญ
๘. พระครูสัญญาบัติ ,
พระครูชั้นประทวน , พระครูฐานานุกรม
๙. พระเปรียญตั้งแต่
3-9
การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์อยู่แล้ว
การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์อยู่แล้ว
เราเจอแต่คำราชาศัพท์ที่อ่านยาก
มาฟังเพลงผ่อนคลายกันดีกว่า>>คลิกที่นี่เลยนะจ๊ะ